พิธีเปิดอาคาร

พิธีเปิดอาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์

วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๗ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารบรมนาถศรีนครินทร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ ซึ่งเป็นอาคารศูนย์ความเป็นเลิศทางทันตแพทยศาสตร์ ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ตึกขนาด ๑๙ ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยราว ๓๕,๐๐๐ ตารางเมตร โดยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลในปีงบประมาณ ๒๕๕๖-๒๕๕๙ จำนวน ๔๘๕,๙๙๐,๔๐๐ บาท จากค่าก่อสร้างอาคารใหม่จำนวนทั้งสิ้น ๘๐๙,๙๘๔,๐๐๐ บาท (ไม่รวมค่าตกแต่ง อุปกรณ์ และเครื่องมือทางทันตกรรม)

อาคารบรมนาถศรีนครินทร์เป็นศูนย์กลางการให้บริการผู้ป่วยทันตกรรมระดับตติยภูมิผ่านศูนย์เชี่ยวชาญทางการรักษาโรคทางทันตกรรม นอกจากการให้บริการทางทันตกรรม ยังมีศูนย์เทคโนโลยีทางทันตกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศทางการวิจัยทางทันตแพทยศาสตร์ หน่วยเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อกลาง CSSD (Central Sterile Supply Department) รวมทั้งศูนย์ฝึกอบรม และการปฏิบัติการทางคลินิกของนิสิต ทั้งในระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษาแบบครบวงจร

นอกจากนี้ยังมีห้องประชุมสมเด็จพระญาณสังวรและห้องนิทรรศการ ซึ่งเป็นห้องประชุมขนาดใหญ่ (๓๓๙ ที่นั่ง) พร้อมห้องอเนกประสงค์ที่สามารถใช้จัดการประชุมและรับรองผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวนมากประกอบด้วย โสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัย รองรับการประชุมได้ทั้งในสถานที่และทางออนไลน์ ดาวน์โหลดสูจิบัตร

  • borommanadsrinakarin01
  • borommanadsrinakarin02
  • borommanadsrinakarin03
  • borommanadsrinakarin04
  • borommanadsrinakarin05
  • borommanadsrinakarin06
  • borommanadsrinakarin07
  • borommanadsrinakarin08
  • borommanadsrinakarin09
  • borommanadsrinakarin10
  • borommanadsrinakarin11
  • borommanadsrinakarin12
  • borommanadsrinakarin13
  • borommanadsrinakarin14
  • borommanadsrinakarin15
  • borommanadsrinakarin16
  • borommanadsrinakarin17
  • borommanadsrinakarin18
  • borommanadsrinakarin19
  • borommanadsrinakarin20
  • borommanadsrinakarin21
  • borommanadsrinakarin22
  • borommanadsrinakarin23
  • borommanadsrinakarin24
  • borommanadsrinakarin25
  • borommanadsrinakarin26
  • borommanadsrinakarin27
  • borommanadsrinakarin28
  • borommanadsrinakarin31
  • borommanadsrinakarin32
  • borommanadsrinakarin33
  • borommanadsrinakarin34

พิธีเปิดหอนิทรรศการและศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๖๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอุทยาน ๑๐๐ ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดหอนิทรรศการและศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ ห้องนิทรรศการ ๑ และห้องนิทรรศการ ๒

  • exhibition-ramaIX-6001
  • exhibition-ramaIX-6002
  • exhibition-ramaIX-6003
  • exhibition-ramaIX-6004
  • exhibition-ramaIX-6005
  • exhibition-ramaIX-6006
  • exhibition-ramaIX-6007
  • exhibition-ramaIX-6008
  • exhibition-ramaIX-6009
  • exhibition-ramaIX-6010
  • exhibition-ramaIX-6011
  • exhibition-ramaIX-6012
  • exhibition-ramaIX-6013
  • exhibition-ramaIX-6014
  • exhibition-ramaIX-6015
  • exhibition-ramaIX-6016
  • exhibition-ramaIX-6017
  • exhibition-ramaIX-6018
  • exhibition-ramaIX-6019
  • exhibition-ramaIX-6020
  • exhibition-ramaIX-6021
  • exhibition-ramaIX-6022
  • exhibition-ramaIX-6023
  • exhibition-ramaIX-6024
  • exhibition-ramaIX-6025
  • exhibition-ramaIX-6026
  • exhibition-ramaIX-6027
  • exhibition-ramaIX-6028
  • exhibition-ramaIX-6029
  • exhibition-ramaIX-6030
  • exhibition-ramaIX-6031
  • exhibition-ramaIX-6032
  • exhibition-ramaIX-6033
  • exhibition-ramaIX-6034
  • exhibition-ramaIX-6035
  • exhibition-ramaIX-6036
  • exhibition-ramaIX-6037
  • exhibition-ramaIX-6038
  • exhibition-ramaIX-6039
  • exhibition-ramaIX-6040
  • exhibition-ramaIX-6041
  • exhibition-ramaIX-6042
  • exhibition-ramaIX-6043
  • exhibition-ramaIX-6044

พิธีเปิดแพรคลุมป้ายชื่ออาคารสัตววิทยวิจักษ์ และอาคารศูนย์สัตว์ทดลอง

วันเสาร์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารสัตววิทยวิจักษ์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “อาคารสัตววิทยวิจักษ์” และ “อาคารศูนย์สัตว์ทดลอง”

อาคารสัตววิทยวิจักษ์ ก่อสร้างในเขตพื้นที่อาคารไม้สักหลังเดิม ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากตามพระราชดำริในครั้งที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินมาโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้พระราชทานคำแนะนำให้ก่อสร้างและได้รับพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒ และพระราชทานนามว่า “อาคารสัตววิทยวิจักษ์” เป็นอาคารสูง ๑๐ ชั้น ประกอบด้วยคลินิกอายุรกรรม คลินิกเฉพาะทางต่าง ๆ คลินิกศัลยกรรม คลินิกด้านสูติกรรมฯ รังสีวินิจฉัย แผนกกายภาพบำบัดและฟื้นฟู แผนกที่พักสัตว์ป่วยติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ ห้องรักษาพิเศษ ห้องประชุม รวมทั้งห้องพักพิเศษ ห้องพักแพทย์เฉพาะทางที่เข้าศึกษางานด้านสัตวแพทย์

อาคารศูนย์สัตว์ทดลอง สร้างขึ้นเพื่อเป็นอาคารในการพัฒนาการเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ให้บริการด้านสัตว์ทดลองที่มีคุณภาพระดับมาตรฐานสากล เพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานวิจัย การทดสอบการผลิตชีววัตถุ และการสอนด้านชีววิทยาศาสตร์ เป็นอาคาร ๕ ชั้น ประกอบด้วย ระบบเลี้ยงสัตว์ทดลองที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพ ระดับ ๒ สำนักงานและธุรการ และระบบอนามัยเข้มสำหรับสัตว์ทดลองขนาดกลาง

  • sattawawichak-laboratoryanimal01
  • sattawawichak-laboratoryanimal02
  • sattawawichak-laboratoryanimal03
  • sattawawichak-laboratoryanimal04
  • sattawawichak-laboratoryanimal07
  • sattawawichak-laboratoryanimal08
  • sattawawichak-laboratoryanimal09
  • sattawawichak-laboratoryanimal10
  • sattawawichak-laboratoryanimal11
  • sattawawichak-laboratoryanimal12
  • sattawawichak-laboratoryanimal13
  • sattawawichak-laboratoryanimal14
  • sattawawichak-laboratoryanimal15
  • sattawawichak-laboratoryanimal16
  • sattawawichak-laboratoryanimal18
  • sattawawichak-laboratoryanimal20

พิธีเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “ห้องเรื่อง ในหลวงอานันทฯ”และทอดพระเนตรความคืบหน้าศูนย์วิจัยมหาจักรีสิรินธร ในพระราชูปถัมภ์

วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารอานันทมหิดล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดแพรคลุมป้าย “ห้องเรื่อง ในหลวงอานันทฯ” จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคาร อปร ทอดพระเนตรความคืบหน้าศูนย์วิจัยมหาจักรีสิรินธร ในพระราชูปถัมภ์

ห้องเรื่อง ในหลวงอานันทฯ ภายในจัดแสดงเป็น ๔ ส่วน ๑.ราชสกุลมหิดล ๒.เจ้านายเล็กๆ ๓.ยุวกษัตริย์ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ๔.นิวัตรพระนคร ครั้งที่ ๒ เนื้อหาที่จัดแสดงประกอบด้วย พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมรูปจำลอง และภาพยนต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง โดยนำเสนอเป็นการจัดแสดงผลงานนิทรรศการ และการเล่าเรื่องผ่านมุมมองบุคคล ที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีความรู้ลึกซึ้งในเหตุการณ์ช่วงนั้น ในรูปแบบสื่อดิจิตอล

ศูนย์วิจัยมหาจักรีสิรินธร ในพระราชูปถัมภ์ เริ่มปฏิบัติงานในปี พ.ศ ๒๕๕๒ ภายใต้ชื่อ ศูนย์วิจัยทางคลินิกระดับนานาชาติ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn International Clinical Research Center : Chula CRC) วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศูนย์ฯ อย่างเป็นทางการ ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานชื่อ "ศูนย์วิจัยมหาจักรีสิรินธร" และทรงรับกองทุนศูนย์วิจัยมหาจักรีสิรินธรอยู่ในพระราชูปถัมภ์ ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยระดับนานาชาติที่ครอบคลุมทั้งด้าน Clinical Trials และ Clinical Research ที่มีมาตรฐานระดับสากล ได้รับรองคุณภาพจาก The College of American Pathologists การจัดตั้งศูนย์ฯ จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์และนักวิจัยสามารถผลิตผลงานวิจัยด้านคลินิกได้เพิ่มมากขึ้นทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการผลิตแพทย์และการให้บริการทางการแพทย์ต่อไป

  • kingramaVIII-room01
  • kingramaVIII-room02
  • kingramaVIII-room03
  • kingramaVIII-room04
  • kingramaVIII-room05
  • kingramaVIII-room06
  • kingramaVIII-room07
  • kingramaVIII-room08
  • kingramaVIII-room09
  • kingramaVIII-room10
  • kingramaVIII-room11
  • kingramaVIII-room12
  • kingramaVIII-room13
  • kingramaVIII-room14
  • kingramaVIII-room15
  • kingramaVIII-room16

พิธีเปิดอุทยาน ๑๐๐ ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันอาทิตย์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอุทยาน ๑๐๐ ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดอุทยาน ๑๐๐ ปี จุฬาฯ จากนั้นทรงปลูกต้นจามจุรี ๙ ต้น ทอดพระเนตรนิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพื้นที่ปลูกต้นไม้พระราชทาน ๑๐๐ ต้น

อุทยาน ๑๐๐ ปี จุฬาฯ เป็นอุทยานแห่งการเรียนรู้และคืนประโยชน์สู่สังคม ณ พื้นที่โครงการอุทยาน ๑๐๐ ปี จุฬาฯ ในการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น จุฬาฯ ให้มีการจัดการพื้นที่สีเขียวของมหาวิทยาลัย ด้วยการสร้างแนวแกนพื้นที่สีเขียวเชื่อมต่อระหว่างเขตการศึกษากับเขตพื้นที่พาณิชย์ของมหาวิทยาลัย โดยเริ่มจากหอประชุมจุฬาฯ มาสู่พื้นที่อุทยาน ๑๐๐ ปี จุฬาฯแห่งนี้ ซึ่งจะสร้างให้เป็นอุทยานเพื่อการเรียนรู้ของสังคม เป็นแหล่งเรียนรู้ สังคมอุดมปัญญา เพื่อจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ของสังคมต่อไป

  • cula100yrspark6001
  • cula100yrspark6002
  • cula100yrspark6003
  • cula100yrspark6004
  • cula100yrspark6005
  • cula100yrspark6006
  • cula100yrspark6007
  • cula100yrspark6008
  • cula100yrspark6009
  • cula100yrspark6010
  • cula100yrspark6011
  • cula100yrspark6012
  • cula100yrspark6013
  • cula100yrspark6014
  • cula100yrspark6015
  • cula100yrspark6016
  • cula100yrspark6017
  • cula100yrspark6018
  • cula100yrspark6019
  • cula100yrspark6020
  • cula100yrspark6021
  • cula100yrspark6022
  • cula100yrspark6023
  • cula100yrspark6024
  • cula100yrspark6025
  • cula100yrspark6026
  • cula100yrspark6027
  • cula100yrspark6028

พิธีเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์”

วันเสาร์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคาร ๓ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์” เป็นห้องสมุดที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรมที่ทันสมัยมาใช้ เป็นการเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนานิสิตให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต โดยได้รับเงินสนับสนุนจากนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  • engineering-library02
  • engineering-library04
  • engineering-library06
  • engineering-library07
  • engineering-library09
  • engineering-library10
  • engineering-library11
  • engineering-library12
  • engineering-library13
  • engineering-library17
  • engineering-library19
  • engineering-library20

พิธีเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ “อาคารจุฬาพัฒน์ ๑๔” และโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช

วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๕ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารจุฬาพัฒน์ ๑๔ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดแพรคลุมป้าย “อาคารจุฬาพัฒน์ ๑๔” จากนั้นเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืช โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด ณ ชั้น ๑๑ อาคารจุฬาพัฒน์ ๑๔

โรงงานต้นแบบการผลิตวัคซีนและชีววัตถุโดยใช้พืช ใช้เวลา ๘ เดือนในการปรับปรุงบนพื้นที่ชั้น ๑๑ อาคารจุฬาพัฒน์๑๔ ขนาด ๑,๒๐๐ ตารางเมตร ผ่านมาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) พร้อมรองรับการผลิตวัคซีนในขั้นต้น เริ่มตั้งแต่เพาะเลี้ยงแบคทีเรียพาหะสารพันธุกรรมของโคโรนาไวรัส ปลูกถ่ายลงในใบยาสูบ เพาะพันธุ์เพิ่มจำนวน และเก็บเกี่ยวเพื่อสกัดโปรตีนสำหรับใช้ผลิตวัคซีน ก่อนนำส่งไปทำวัคซีนให้บริสุทธิ์ที่บริษัท คินเจ่นไบโอเทค จำกัด จากนั้นผสมและแบ่งบรรจุวัคซีนที่สถานเสาวภาต่อไป

  • chulapat14-01
  • chulapat14-02
  • chulapat14-03
  • chulapat14-04
  • chulapat14-05
  • chulapat14-06
  • chulapat14-07
  • chulapat14-08
  • chulapat14-09
  • chulapat14-10
  • chulapat14-11
  • chulapat14-12
  • chulapat14-13
  • chulapat14-14
  • chulapat14-15
  • chulapat14-16

โครงการอุทยานจุฬา ๑๐๐ ปี

วันเสาร์ที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังโครงการอุทยานจุฬาฯ ๑๐๐ ปี ทรงปลูกต้นจามจุรี ๖ ต้น

โครงการอุทยานจุฬาฯ ๑๐๐ ปี สร้างขึ้นในโอกาสที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะครบรอบ ๑๐๐ ปี ในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาแนวคิดในการจัดการพื้นที่สีเขียวของมหาวิทยาลัย ด้วยการสร้างแนวแกนพื้นที่สีเขียวเชื่อมต่อระหว่างเขตการศึกษากับเขตพื้นที่พาณิชย์ของมหาวิทยาลัย มีเนื้อที่ประมาณ ๒๘ ไร่ มีจุดมุ่งหมายให้ประชาชน ประชาคมจุฬาฯ ตลอดจนชุมชนโดยรอบ ได้เข้ามาใช้พื้นที่สร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน อันจะเป็นพื้นที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน เพื่อให้เป็นไปตามแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในหมวด “เกื้อกูล” ของมหาวิทยาลัย ซึ่งตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคมส่วนรวม

  • cula100yrspark01
  • cula100yrspark02
  • cula100yrspark03
  • cula100yrspark04
  • cula100yrspark05
  • cula100yrspark06
  • cula100yrspark07
  • cula100yrspark08
  • cula100yrspark09
  • cula100yrspark10
  • cula100yrspark11
  • cula100yrspark12
  • cula100yrspark13
  • cula100yrspark14

พิธีเปิดแพรคลุมป้ายศูนย์ "เพชรรัตน" นิติทรัพยากร

วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังอาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดแพรคลุมป้ายชื่อ " ศูนย์ "เพชรรัตน" นิติทรัพยากร " ก่อสร้างเพื่อเป็นห้องสมุดคณะนิติศาสตร์ โดยได้รับพระกรุณาโปรดพระราชทานทุนจากสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พร้อมพระราชทานพระนาม "เพชรรัตน" มาเป็นนามห้องสมุด เมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๓ ในพุทธศักราช ๒๕๕๘ เป็นวาระ ๙๐ ปีแห่งการประสูติกาลของสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี คณะนิติศาสตร์จึงมีโครงการปรับปรุงพัฒนาห้องสมุด ทั้งด้านกายภาพและระบบสารสนเทศให้ทันสมัย เหมาะสมสอดคล้องกับการเรียนการสอนและการสร้างเสริมศักยภาพให้เป็นแหล่งข้อมูลด้านนิติศาสตร์ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาค

  • PrincessBajaratanaLegalResourcesCenter01
  • PrincessBajaratanaLegalResourcesCenter02
  • PrincessBajaratanaLegalResourcesCenter03
  • PrincessBajaratanaLegalResourcesCenter04
  • PrincessBajaratanaLegalResourcesCenter05
  • PrincessBajaratanaLegalResourcesCenter07
  • PrincessBajaratanaLegalResourcesCenter08
  • PrincessBajaratanaLegalResourcesCenter09
  • PrincessBajaratanaLegalResourcesCenter10
  • PrincessBajaratanaLegalResourcesCenter11
  • PrincessBajaratanaLegalResourcesCenter13
  • PrincessBajaratanaLegalResourcesCenter14